สัญลักษณ์โอมคืออะไร ความเป็นมาอย่างไร 

สัญลักษณ์โอมเป็นสัญลักษณ์ประจำตัวองค์พระพิฆเนศ มหาเทพแห่งความสำเร็จ และเป็นองค์บรมครูแห่งศิลปะวิทยาการถึง 18 ประการ นอกจากจะช่วยดลบันดาลให้ผู้บูชาประสบความสำเร็จเจริญรุ่งเรืองและได้อะไรมาโดยง่ายและรวดเร็วแล้ว ยังช่วยขจัดอุปสรรคต่างๆ ให้กับผู้ที่บูชาอีกด้วย เราจึงสามารถที่จะพบเห็นสัญลักษณ์นี้ในที่ต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้นับถือพระพิฆเนศกันเป็นจำนวนมาก คำว่า “โอม” เป็นคำที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และทรงพลังมากๆ ชาวฮินดูเชื่อว่าโอมเกิดขึ้นเมื่อมีการสร้างโลก สามารถสังเกตได้จากบทสวดมนต์ศาสนาต่างๆอย่างเช่นศาสนาพราหมณ์ ฮินดู รวมถึงศาสนาพุทธด้วย ยังสามารถสังเกตได้จากภาพวาดขององค์มหาเทพในศาสนาฮินดู ก็มักจะปรากฏเครื่องหมายโอมให้ได้เห็นเช่นเดียวกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าโอมเป็นสัญลักษณ์ถึงความศักดิ์สิทธิ์ความโชคดี ความเป็นสิริมงคล และความสำเร็จ ทั้งยังช่วยขจัดปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ไม่ดีต่างๆให้หมดสิ้นไปด้วยเช่นกัน

สัญลักษณ์และความหมายของ พระตรีมูรติ พระพิฆเนศ บน จี้โอม และสร้อยโอม

 

ลักษณะเด่นของสัญลักษณ์โอมอย่างแรกคือจะมีลักษณะคล้ายเลข 3 นำหน้า อย่างที่สองคือตัวอักษรคล้ายงอ-งู ต่อท้าย และอย่างที่ 3 คือมีลักษณะถ้วยและหยดน้ำ(พินธุ)อยู่ด้านบน

นอกจากนี้คำว่าโอมยังเกิดมาจากนามเรียกพระตรีมูรติทั้ง 3 อย่างเช่น พระศิวะ(อะ-การสร้าง) พระวิษณุ(อุ-การรักษา) และพระพรหม(มะ-การทำลาย) เมื่ออ่านเรียงเสียงสระของท้ายชื่อแล้วจะอ่านได้คำว่า “โอม” คล้ายกับเป็นการเรียกชื่อขององค์พระมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ทั้ง 3 นั่นเอง 

การปลุกเสกแหวนโอมและการทำพิธีในวัดแขก และวัดต่างๆในไทย 

 

รูปแบบในการเลือกแหวนโอม ใส่นิ้วไหนดี

 

พระพิฆเนศคือใคร?

พระคเณศ (สันสกฤต: गणेश, ทมิฬ: பிள்ளையார்) ชาวไทยนิยมเรียกว่า พระพิฆเนศ (विघ्नेश) พระพิฆเณศวร พระพิฆเณศ หรือ พระคณปติ เป็นเทพในศาสนาฮินดู นับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาทุกแขนง เป็นหัวหน้านำคณะข้ามความขัดข้อง (ผู้เป็นใหญ่เหนือความขัดข้อง)

“โอม ศรี คเณศายะ นะมะฮา” ขอความสำเร็จในด้านต่างๆ มีโชค และมีทรัพย์เงินทอง สมความปรารถนา (บูชาแบบสั้นๆ เมื่อเดินผ่านตามเทวาลัย, วัดต่างๆที่พระพิฆเณศประดิษฐานอยู่)

โอม พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ ทุติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ ตะติยัมปิ พระพิฆเณศวร สิทธิประสิทธิเม มหาลาโภ (บทสวดของไทย สวดทุกวันเพื่อเป็นสิริมงคล)

พระพิฆเนศกับสังคมไทย

ในประเทศไทยประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีการบูชาเทพต่าง ๆ ในศาสนาพราหมณ์อยู่มากมาย รวมทั้งพระพิฆเนศซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ดูได้จากการพบรูปสลักพระพิฆเนศในเทวสถานตามเมืองต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศไทยโดยมีหลักฐานการค้นพบเทวรูปบูชาพระพิฆเนศที่เก่าแก่ในสมัยที่ขอมเรืองอำนาจในดินแดนสุวรรณภูมิ เป็นต้นว่าเทวรูปบูชานั้นสลักจากหิน ค้นพบทางแถบจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร

คนไทยถือว่าพระพิฆเนศเป็นที่เคารพสักการะในฐานะบรมครูแห่งศิลปวิทยาการ 18 ประการ โดยคนไทยยอมรับในพระพิฆเนศให้เป็นเทพแห่งศิลปะทั้งมวล และเป็นเทพองค์สำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งทางศาสนาพราหมณ์ได้สถาปนาพระพิฆเนศเป็นเทพพระองค์แรกที่ต้องบูชาก่อนเริ่มพิธีใด ๆ เป็นการคารวะในฐานะบรมครูผู้ประสาทปัญญาและความสำเร็จ สามารถขจัดอุปสรรคทั้งปวงให้หมดสิ้นไป กิจการทุกอย่างจึงสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี หน่วยงานราชการกรมศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้ถือเอาพระพิฆเนศเป็นตราสัญลักษณ์

พระพิฆเนศเป็นพระโอรสของพระศิวะและพระปารวตีมีพระวรกายเป็นมนุษย์ มีพระเศียรเป็นช้าง ทุกคนเคารพนับถือพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็น “วิฆเนศ” นั่นคือ เจ้า (อิศ) แห่งอุปสรรค (วิฆณ) เพราะเจ้าแห่งอุปสรรคสามารถปลดปล่อยอุปสรรคได้ และยังหมายถึงทรงเป็นเทพแห่งความสำเร็จในทุกศาสตร์สรรพสิ่งหรือเทพแห่งการเริ่มต้นใหม่ทั้งปวง เมื่อพิจารณาความหมายในทางสัญญะ พระวรกายที่อ้วนพีนั้นหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ พระเศียรที่เป็นช้างหมายถึงทรงมีปัญญามาก พระเนตรที่เล็กคือสามารถมองแยกแยะสิ่งถูกผิด พระกรรณและพระนาสิกที่ใหญ่หมายถึงทรงมีสัมผัสพิจารณาที่ดีเลิศ พระพิฆเนศทรงมีหนูเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ) ซึ่งอาจเปรียบได้กับความคิดที่พุ่งพล่าน รวดเร็ว ดังนั้นมนุษย์จึงต้องมีปัญญากำกับเป็นดั่งเจ้านายในใจตน

ลักษณะของพระพิฆเนศมีพระวรกายเป็นมนุษย์เพศชาย อ้วนเตี้ย ท้องพลุ้ย มีพระเศียรเป็นช้าง มีงาข้างเดียว (ถูกขวานปรศุรามหักเสียงา) สีพระวรกายสีแดง (บางแห่งว่าผิวเหลือง นุ่งห่มแดง) มี 4 พระกร พระหัตถ์ขวาบนทรงตรีศูล พระหัตถ์ขวาล่างทรงงาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนทรงปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงขันน้ำมนต์เป็นกะโหลกศีรษะมนุษย์ หนูเป็นพระสหาย (บางก็ว่าเป็นพระพาหนะ)